บทความนี้สปอนเซอร์โดย Nantou Distillery

โอมาร์ (Omar) ซิงเกิลมอลต์วิสกี้จาก โรงกลั่นเหล้าหนันโถว (Nantou Distillery) ผสมผสานเทคนิคการผลิตจากสกอตแลนด์ เข้ากับคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์จากแตร์รัวร์ของไต้หวันเพื่อสร้างรสชาติที่แตกต่างท่ามกลางอุตสาหากรรมการผลิตวิสกี้ที่กำลังพัฒนาอย่างมาก

โรงกลั่นเหล้าหนันโถว ผู้ผลิตโอมาร์นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 โดยเริ่มจากการผลิตเบลนด์วิสกี้ยี่ห้อ Jade Supremacy สำหรับการบริโภคภายในประเทศ แต่สืบเนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของวิสกี้ในช่วงทศวรรษที่ 2010s ทำให้สกอตช์วิสกี้ที่คุณภาพดีและราคาสมเหตุสมผลนั้นขาดตลาดอย่างมาก จึงเป็นสาเหตุให้ บริษัทบุหรี่และสุราไต้หวัน (Taiwan Tobacco and Liquor Corporation หรือ TTL ตัดสินใจที่จะจัดการกับปัญหาวิสกี้ขาดตลาดด้วยการผลิตขึ้นซะเองในประเทศ ด้วยการ มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของ โรงกลั่นเหล้าหนันโถวนั่นเอง

ต่อมาในปี 2013 ผู้บริหารระดับสูงของโรงกลั่นได้ค้นพบว่าจริงๆ แล้ว เหล้าในโรงกลั่นที่ผลิตขึ้นมานั้นมีคุณภาพดีมาก ทางบริษัทบุหรี่และสุราไต้หวันจึงตัดสินใจที่จะไม่ใช้เหล้าจากโรงกลั่นทั้งหมดในการผลิตวิสกี้ประเภทเบลนด์เพียงอย่างเดียว แต่ว่าต้องการผลิตประเภทซิงเกิลมอลต์ด้วย โอมาร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อออกสู่ตลาด ซึ่งนั่นรวมไปถึงการชนะรางวัลเหรียญเงินและเหรียญทองจากหลากหลายเวทีประกวดที่มีชื่อเสียงด้วยเช่นกัน

แล้วอะไรหล่ะที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โอมาร์โดดเด่น? Taiwanese terrior หรือสภาพแวดล้อมโดยรวม ดิน ฟ้า อากาศ ของได้หวัน คือเหตุผลแรก

โรงกลั่นเหล้าหนันโถวนั้นมีการผลิตไวน์ ไวน์ผลไม้ ลิเคียวร์ และบรั่นดีด้วยเช่นกัน นั่นหมายความว่า โอมาร์ ถูกบ่มในถังที่หลากหลาย เช่นในถังที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตลิเคียวร์ ไวน์ หรือบรั่นดีมาก่อน ซึ่งปัจจัยนี้เองสร้างรสชาติและคาแรคเตอร์ที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ให้กับโอมาร์

ในโรงกลั่นประกอบไปด้วยแทงก์สำหรับเก็บมอลต์ 3 แทงก์, เครื่องบดธัญพืช, ถังที่ใช้สำหรับแมช (Mash), ถังหมักสแตนเลส 8 ถัง และ หอกลั่นทองแดง (copper pot stills) 2 คู่

โรงกลั่นเหล้าหนันโถวนำเข้ายีสท์และมอลต์บาร์เลย์จากสกอตแลนด์สำหรับใช้ในการผลิตโอมาร์ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของไต้หวันร้อนเกินไปที่จะปลูกบาร์เลย์ แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถนำเข้ามาด้วยจากสกอตแลนด์ก็คือสภาพภูมิอากาศที่มีหน้าหนาวที่หนาว และ ซัมเมอร์ที่อบอุ่น ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอากาศสไตล์กึ่งทรอปิคัลของไต้หวันที่มีหน้าหนาวที่อบอุ่น และหน้าร้อนที่ร้อน ทำให้โรงกลั่นเหล้าหนันโถวจะผลิตโอมาร์ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เมษายน เท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงหน้าร้อนที่ร้อนมากของไต้หวันนั่นเอง

แทงก์สำหรับเก็บมอลต์ในโรงกลั่นจะสามารถเก็บมอลต์ได้ 50 ตันต่อแทงก์ ทำให้มอลต์ทั้งหมด 150 ตันถูกออร์เดอร์ต่อครั้ง และทั้งหมดจะถูกลำเลียงไปยังแทงก์เพื่อดำเนินการบดต่อไป เมื่อบดมอลต์เรียบร้อยแล้วจึงส่งต่อไปยังถังสำหรับแมชเพื่อผสมมอลต์ที่บดแล้วเข้ากับนำร้อนที่ได้มาจากแหล่งน้ำกลางภูเขาในบริเวณของมณฑลหนันโถว

เราใช้มอลต์ 2,500 กิโลกรัมสำหรับการแมชชิ่งในแต่ละครั้งซึ่งจะออกมาเป็นวอร์ท (สารตั้งต้นก่อนหมัก) ทั้งหมด 3 ครั้ง การเก็บวอร์ทสองครั้งแรกจะถูกผสมเข้าด้วยกันได้ปริมาณราว 120 เฮกโตลิตร ก่อนจะถูกลดอุณหภูมิลงเหลือ 19 องศาเซลเซียส และลำเลียงไปยังถังหมัก (washbacks) ตามด้วยวอร์ทส่วนที่ 3 ถังหมักผลิตจากแสตนเลสเพราะผลิตง่ายกว่าถังที่เป็นไม้โดยเฉพาะภายใต้สภาพอากาศของไต้หวัน

หอกลั่น 2 หอแรกรองรับขนาด 9,000 และ 5,000 ลิตร ใช้สำหรับการกลั่นวอช (Wash หรือของเหลวที่เกิดหลังจากการหมักวอร์ท) และอีกสองคู่รองรับขนาด 5,000 และ 2,000 ลิตร ใช้สำหรับกลั่นเหล้า

อีกหนึ่งปัจจัยที่เกิดขึ้นจากการปรับการผลิตให้เข้ากับสภาพอากาศของไต้หวันคือระบบทำความเย็น (Cooling System) 2 ขั้นตอน คือ เครื่องควบแน่นแบบเปลือกและท่อเปิด และ ระบบทำความเย็นหลังกลั่น เหล้าที่กลั่นออกมาได้จะถูกผสมกันให้ได้ค่าเฉลี่ยของแอลกอฮอล์เริ่มต้นเท่ากับ 70 ดีกรี

หลังจากกระบวนการไดลูชั่น (Dilution) จบลง เหล้าใหม่จะถูกบ่มในถังไวน์เชอร์รี่จากเสปน และถังอเมริกันเบอร์เบิน ระยะเวลาการบ่มในไต้หวันนั้นให้ผลเร็วกว่าที่สกอตแลนด์ถึง 3 เท่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน การบ่มในถังไม้เป็นเวลา 4 ปีในไต้หวัน ให้ผลลัพธ์ในด้านรสชาติใกล้เคียงกับวิสกี้ที่บ่ม 10 ถึง 12 ปี อีกทั้งยังให้สีอำพันที่เข้มข้นชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนั่นเป็นที่มาของชื่อ เพราะโอมาร์เป็นคำในภาษาท้องถิ่นของสกอตแลนด์ (Gaelic) ที่หมายความว่าสีอำพันนั่นเอง

แน่นอนว่าเมื่อการบ่มในไต้หวันให้ผลลัพธ์ที่เร็วกว่าสกอตแลนด์ถึง 3 เท่า Angel’s Share หรือ ปริมาณของเหล้าที่ลดลงต่อปีระหว่างขั้นตอนการบ่มนั้น ก็ลดลงในอัตราที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ราว 6-7% ของของเหลวลดลงไปในแต่ละปีการบ่มที่ไต้หวัน ในขณะที่การบ่มที่สกอตแลนด์มีอัตราการลดลงของของเหลวเพียง 2% ต่อปี

โอมาร์บรรจุขวดด้วยวิธีการ non-chill filtered หรือการไม่ลดอุณหภูมิของวิสกี้ก่อนไหลผ่านตัวกรอง และไม่มีการแต่งกลิ่น แต่งสีเพิ่มเติมตลอดทั้งขั้นตอนการผลิต

โอมาร์ได้ผลิตซิงเกิลมอลต์วิสกี้ที่มีความโดดเด่นจากถังไม้ กรองแบบไม่ลดอุณหภูมิขณะบรรจุลงขวด ด้วยปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากับ 46 เปอร์เซนต์ ที่มีคาแรคเตอร์ของลิเคียวร์ผลไม้จากการเลือกใช้ถังลิเคียวร์อย่าง ถังไม้ที่ใช้บ่มลิเคียวร์ลิ้นจี่ หรือ ลิเคียวร์บ๊วย เป็นตัวจบวิสกี้

โอมาร์ ให้ความสำคัญกับอโรม่าจากผลไม้เมืองร้อน ซึ่งคาแรคเตอร์นี้เองที่สร้างความแตกต่างจากสกอตช์วิสกี้ และสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักชิมวิสกี้จำนวนมาก เมื่อปีที่แล้ว โอมาร์ ยังได้ออกซิงเกิลมอลต์วิสกี้ที่บรรจุขวดจากถังเดียว (Single Cask) โดยใช้ peated malt หรือมอลต์ที่รมด้วยถ่านพีต ซึ่งให้อโรม่าคล้ายกับอาหารจานโปรดของชาวไต้หวันอย่าง มันหวานเผา นอกจากนั้นเมื่อชิมยังได้ความสโมกกี้ที่ชัดเจน ก่อนจบด้วยคาแรคเตอร์ฟรุตตี้ที่ค้างรสชาติไว้ยาวนาน

การผสมผสานที่ลงตัวระหว่างเทคนิคจากสกอตแลนด์ และคาแรคเตอร์เฉพาะตัวของแตร์รัวร์ฉบับไต้หวันนี้เอง คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้โอมาร์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร