จากสวนดอกไม้สู่แก้วค็อกเทล ส่วนผสมใหม่ที่นักดื่มต่างเรียกหา By Paul Mathew

ผมขอเริ่มเรื่องนี้ด้วยการสารภาพดื้อๆ ก่อนเลยว่า ผม กับ ดอกไม้ คือสิ่งที่แยกกันไม่ออก คุณพ่อของผมถืออาชีพเป็นนักพฤกษศาสตร์ประจำที่ สวนพฤกษศาสตร์หลวง (Royal Botanic Garden) นั่นทำให้ผมเติบโตขึ้นมากับดอกไม้แห้ง พืชพรรณหายากนานาชนิดที่ออกดอกงดงามในสวนหลังบ้าน และ ห่อบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชที่มักจะถูกส่งมาที่บ้านทุกเช้าทางไปรษณีย์ ถึงทุกวันนี้ยังมีห่อไปรษณีย์บรรจุ หญ้าฝรัน (saffron) อยู่กลาดเกลื่อนเต็มบ้านไปหมดชวนให้นึกถึงอดีตครั้งเมื่อท่านยังทำงานกับมัน ผมเดินตามรอยเท้าของพ่ออยู่ในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่เสน่ห์ยามค่ำคืนจะพาผมเข้าสู่วงการเครื่องดื่มอย่างเต็มตัว (ผมมีโอกาสเดินทางไปยังหลายประเทศเพื่อศึกษาทางด้านชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ซึ่งนั่นเปิดโอกาสให้ผมได้รู้จักเครื่องดื่มจากทั่วทุกมุมโลก) ผมจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตื่นเต้นมากแค่ไหนเมื่อรู้ว่าการใช้ดอกไม้ในเครื่องดื่มกำลังเป็นเทรนด์ที่นิยมมากในปัจจุบันนี้

Saffron crocuses

กลิ่นหอมของดอกไม้กับค็อกเทลจริงๆ แล้วมีประวัติศาสตร์ร่วมกันยาวนาน ทั้งดอกไวโอเล็ต ใน เอวิเอชั่น (Aviation) ดอกกุหลาบ ที่ถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักในการผลิตลิเคียวร์จากอิตาลีที่ชื่อว่า รอสโซลิ (Rosoli) โบราจ ใน พิมส์คัพ (Pimm’s cup) ออเรนจ์ บลอซซั่ม ใน รามอส จิน ฟิซ (Ramos Gin Fizz) จนถึงการใช้กลิ่นหอมของดอกเอลเดอร์ ฟลาวเวอร์ กันอย่างแพร่หลาย อย่างในลิเคียวร์ แซ็ง-แฌร์แม็ง (St-Germain) แต่ในปัจจุบันนี้ ดอกไม้ได้พัฒนาบทบาทของตนเองในเครื่องดื่มขึ้นจากแต่ก่อนมาก ทั้งเป็นส่วนประกอบในการตกแต่งแก้วหรือหรือถูกนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงหลักในการผสมค็อกเทล โดยใช้เทคนิคการปรุงอาหารสมัยใหม่ที่หยิบยืมมาจากเชฟชั้นนำ ทำให้เกาะติดเป็นกระแสอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์อย่างปฏิเสธไม่ได้

ดอกแพนสิ (Pansies) และดอกนัซเทอร์ฌัม (Nasturtiums) คือสองดอกไม้ยอดนิยมที่ก้าวเข้ามาเป็นของตกแต่งบนปากแก้วค็อกเทลแทนที่เปลือกส้ม หรือ เปลือกเลม่อน ทวิสต์อย่างแต่ก่อน ทั้งสองดอกเป็นดอกไม้ที่ทานได้ แม้รสชาติของมันไม่ได้มีคาแรคเตอร์ชัดเจนอะไรมากไปกว่ารสจืดที่ติดขมปนกลิ่นมิ้นต์ตรงปลาย แต่ถึงอย่างนั้นทั้งสองดอกไม้มักจะถูกทิ้งไว้ปลายก้นแก้วแทนที่จะมีใครใส่ใจหยิบทานคู่กับเครื่องดื่มนั้น สิ่งที่น่าสนใจคือดอกไม้ทั้งสองชนิดนอกจากจะทำให้แก้วค็อกเทลดูสวยงามเตะตากว่าที่เคยแล้ว มันยังช่วยเพิ่มความรู้สึกสดชื่นทำให้นักดื่มจินตนาการถึงรสชาติที่ล้ำลึกไปอย่างอัตโนมัติก่อนที่จะบรรจงจิบลิ้มรสชาติ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งนั้นไม่ได้ช่วยเพิ่มรสชาติหรือกลิ่นหอมให้กับค็อกเทลนั้นๆ เลย

New Lace by Swift, London

ดอกพุ่มเล็กสีขาวบริสุทธิ์อย่าง จิพซอฟฟิลา (Gypsophila) ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมหวานจางๆ ให้กับค็อกเทลแต่เป็นหอมจางที่ค่อนข้างบางเบากว่ากลิ่นน้ำมันจากเปลือกซิตรัส ซึ่ง Swift บาร์ ในลอนดอนได้ใช้ประโยชน์จากกลิ่นหอมนี้เติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับค็อกเทลตัวใหม่ของเขาในชื่อ New Lace (ดูส่วนผสมได้ที่ด้านล่างของโพสท์) โดยนอกจากจิพซอฟฟิลาจะเข้ากับชื่อของค็อกเทลแก้วนี้แล้ว กลิ่นหอมจางของมันยังช่วยเสริมกลิ่นฟลอรัลของเหล้าจิน (gin) เหล้า เออ เดอร์ วี กลิ่นเบิร์ช (birch eau de vie) และ ส่วนผสมอื่นๆ ในแก้วได้เป็นอย่างดี

ลาเวนเดอร์ (Lavender) คืออีกหนึ่งดอกไม้ยอดฮิตที่เหล่าบาร์เทนเดอร์นำมาใช้เพื่อกลิ่นหอมโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ให้กับค็อกเทล ผ่านวิธีการใช้ที่หลากหลายทั้งนำมาทำเป็นน้ำเชื่อมกลิ่นลาเวนเดอร์ หรือ นำมาอบแห้ง (เช่นเดียวกับในค็อกเทล Campo de’ Fiori ตามสูตรด้านล่าง) ซึ่งหากบาร์เทนเดอร์ต้องการที่จะใช้ดอกไม้ในรูปแบบใหม่ วิธีการนี้ถือเป็นทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดของความสดของดอกไม้ขณะใช้งานและทำให้มีวัตถุดิบใช้ตลอดทั้งปีแม้ไม่ตรงตามฤดูกาล แถมข้อดีของลาเวนเดอร์คือสามารถเก็บกลิ่นได้ดีแม้ในรูปแบบของการถูกอบแห้ง แต่ก็ตามมาด้วยข้อจำกัดของการดูแลรักษาเพราะการอบแห้งที่เราทำนั้น เราทำเพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในค็อกเทล ไม่ใช่เพื่อการตกแต่ง และการเพิ่มเติมกลิ่นสังเคราะห์อาจทำได้เพื่อได้กลิ่นที่เข้มขึ้นขึ้น แต่ในบางกรณีอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับการนำมารับประทาน

ความปลอดภัย คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เลยสำหรับการนำดอกไม้มาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำค็อกเทล คุณจะต้องมั่นใจว่าดอกไม้ที่นำมาใช้นั้นได้มาตรฐานของอาหาร (ไม่ใช่เพื่อการนำมาตกแต่งเพียงอย่างเดียว) กล่าวคือจะต้องไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ยาป้องกันศัตรูพืช หรือ การฉีดน้ำหอมแต่งเติมกลิ่นสังเคราะห์ Mia Johansson จาก Swift ลอนดอน ดูแลวัตถุดิบทุกชนิดเบื้องหลังบาร์ด้วยตัวของเธอเอง เธอเล่าให้เราฟังว่า “เราใช้ ดอกจิพซอฟฟิลา ที่หาได้จากตลาดนัดเกษตรกร (Farmer’s Market) เพราะเราจะสามารถมั่นใจได้ว่ามันจะไม่มีสารพิษใดเจือปนมาด้วย” Ryan Chetiyawardana เสริมว่า “เรานำดอกไม้ที่ได้มาไปแช่น้ำอีกรอบทุกครั้งเพื่อให้ได้ความมั่นใจว่ามันจะสะอาดจริง แต่ยังไงแหล่งที่มาก็ถือว่าเป็นต้นทางที่สำคัญที่สุด การซื้อดอกไม้ตรงจากร้านดอกไม้ทั่วไปนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่เช่นกัน เพราะร้านมักจะพรมน้ำที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าคืออะไร ยาฆ่าแมลง และ ยากำจัดศัตรูพืชคือตัวอย่างที่มีบทความยืนยันมากมายว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากเรารับประทานเข้าไป ซึ่งนั่นทำให้เรายิ่งต้องระมัดระวัง”

ที่ Dandelyan บาร์ ลอนดอน Ryan สร้างสรรค์สูตรค็อกเทลดอกไม้ของเขาให้ล้ำไปอีกขั้น ด้วยคอนเซปที่เรียกว่า “Modern Botany” ผ่านสี่เมนูหลัก ซึ่งแต่ละเมนูนั้นแสดงออกถึงการนำดอกไม้มาใช้ในค็อกเทลด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ การใช้ดอกไม้เพื่อตกแต่ง (botanical designations) การตีความความเชื่อมโยงกันระหว่างดอกไม้และธรรมชาติ (interconnectedness of plants and nature) การตีความผ่านไอเดียที่ว่าดอกไม้มีส่วนช่วยในการสร้างวัฒนธรรมได้อย่างไร และพาร์ทสุดท้ายที่ว่าด้วยเรื่องของการนำดอกไม้มาใช้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างสูตรหนึ่งในเมนูของเค้าที่ชื่อว่า Vitruvian Rose (อ่านรายละเอียดท้ายบทความ)

ไล่ตามจากคำจัดความแรกในเมนู Ryan ใช้ดอกไม้หลากหลายชนิดสำหรับการตกแต่ง (Garnish) แตกต่างตรงที่การตกแต่งของเขาครั้งนี้ออกจะไม่ธรรมดาเหมือนการจัดวางทั่วไป Ryan อธิบายว่า “โดยทั่วไปเรานิยมตกแต่งดอกไม้ลงบนค็อกเทลแบบตรงๆ คือเพื่อความสวยงามแบบที่มองเห็นได้ทันที โดยไม่ได้ผ่านการตีความในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างภาพดอกไม้ที่มองเห็นกับรสชาติ แต่สำหรับเรา เรารักดอกไม้ด้วยความที่มันสามารถสร้างอีกมิติให้กับค็อกเทลได้ เช่นเดียวกับที่บาร์ทำได้ เราผ่านกระบวนการคิดมาถึงจุดที่เราไม่ได้มองดอกไม้ในมุมเดิมอีกต่อไป กล่าวคือ แทนที่จะมองถึงความงามของมันแค่เพียงอย่างเดียว เราอยากจะหาวิธีนำดอกไม้เหล่านี้มาใช้ด้วยวิธีที่จะแสดงออกถึงบทบาทการมีอยู่ของมันในธรรมชาติ”   ไล่ตามจากคำจัดความแรกในเมนู Ryan ใช้ดอกไม้หลากหลายชนิดสำหรับการตกแต่ง (Garnish) แตกต่างตรงที่การตกแต่งของเขาครั้งนี้ออกจะไม่ธรรมดาเหมือนการจัดวางทั่วไป Ryan อธิบายว่า “โดยทั่วไปเรานิยมตกแต่งดอกไม้ลงบนค็อกเทลแบบตรงๆ คือเพื่อความสวยงามแบบที่มองเห็นได้ทันที โดยไม่ได้ผ่านการตีความในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างภาพดอกไม้ที่มองเห็นกับรสชาติ แต่สำหรับเรา เรารักดอกไม้ด้วยความที่มันสามารถสร้างอีกมิติให้กับค็อกเทลได้ เช่นเดียวกับที่บาร์ทำได้ เราผ่านกระบวนการคิดมาถึงจุดที่เราไม่ได้มองดอกไม้ในมุมเดิมอีกต่อไป กล่าวคือ แทนที่จะมองถึงความงามของมันแค่เพียงอย่างเดียว เราอยากจะหาวิธีนำดอกไม้เหล่านี้มาใช้ด้วยวิธีที่จะแสดงออกถึงบทบาทการมีอยู่ของมันในธรรมชาติ”

Passionfruit flower

ยกตัวอย่างเช่น Vitruvian Rose ที่ตกแต่งเรียบง่ายด้วยกลีบกุหลาบเพียงกลีบเดียว แต่เบื้องหลังการคิดสื่อถึงความจริงทางด้านวิทยาศาสตร์ของพืชพรรณ เช่นความจริงที่ว่ากลีบดอกกุหลาบทุกกลีบเชื่อมต่อกัน หรือ การเรียงตัวของเมล็ดดอกทานตะวันที่เป็นไปตามลำดับฟีโบนัชชี (Fibonacci sequence) ค็อกเทลแก้วอื่นๆ ที่ Dandelyan ใช้หญ้าฝรัน ลาเวนเดอร์ หรือแม้กระทั่งดอกเสาวรส มาปรุงเป็นส่วนผสมที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นวิธีก้าวไปอีกขั้นกว่าเทคนิคดั้งเดิมที่บาร์เทนเดอร์นิยมทำตามกันมา

ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึง “แน่นอนว่าเรามีวิธีเล่นสนุกกับมันได้เยอะแยะมากมาย แต่อย่าลืมว่าบางอย่างก็มีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายเช่นกัน ผมอ่านบทความทางวิทยาศาสตร์หลายบทความมากก่อนที่จะรำมาปรับใช้กับวิธีการคิดสูตรค็อกเทล เราจะหาข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษและสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ มันอาจจะเริ่มต้นจากรสชาติที่เราอยากได้ และตามมาด้วยความปลอดภัยของวิธีการทำของมัน” Ryan อธิบายเสริม

แต่อย่าเพิ่งด่วนตกใจกลัวไปก่อน เพราะข้อมูลเหล่านั้นจริงๆ แล้วสามารถหาอ่านได้ทั่วไป และการทำการบ้านอย่างหนักกับค็อกเทลของคุณคือสิ่งแรกที่คุณควรทำ “วัตถุดิบที่สามารถหาได้ทั่วไปบางอย่างอาจจะกลายเป็นสิ่งอันตรายขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาดใจ เพราะเรากำลังนำมันมาใช้กับแอลกอฮอลล์”

ในทางกลับกันการปลูกดอกไม้ด้วยตัวเองก็สร้างความเสี่ยงเช่นกัน บริษัทที่ปรึกษาด้านเครื่องดื่มอย่าง Gorgeous Group ได้ติดตั้งอุปกรณ์ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ชื่อว่า EvoGro ที่ Epicurean บาร์ใน Edinburgh เพื่อใช้สำหรับทำค็อกเทลธีมสีสันสดใสที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรแนว Colourist ชาวสกอตแลนด์ ระบบที่ว่านี้ถูกควบคุมโดยระบบคลาวด์ (cloud-based monitoring system) ซึ่งมักจะพบเห็นได้บ่อยในร้านอาหารระดับมิชลิน ถ้างบประมาณเอื้ออำนวย การใช้ระบบนี้สามารถการันตีได้ว่าบาร์ของคุณจะมีดอกไม้ใช้ตลอดทั้งปี ทั้งยังรับประกันได้อีกว่าปราศจากสารปนเปื้อนอย่างแน่นอน

ความท้าทายอีกอย่างของการใช้ดอกไม้คือการไม่ทำลายความสวยงามตามธรรมชาติของมัน “แอลกอฮอลล์กับดอกไม้ไม่ใช่ของคู่กันตามธรรมชาติ” Ryan เกริ่น “ในฐานะบาร์เดนเดอร์ ความจริงข้อนี้ทำให้ผมสนใจระบบของเครื่องกลั่น (Rotary Evaporator) วิธีที่จะไม่ทำให้กลิ่นเหล้านั้นหายไป แต่มันก็ยังยากที่จะเก็บกลิ่นที่แท้จริงไว้อยู่ดี”

ในความเป็นจริงๆ มีหลายหลายวิธีที่จะแทรกกลิ่นหอมของดอกไม้เข้าไปในค็อกเทล แต่ไม่มีวิธีไหนเลยที่ทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ “คุณสามารถใช้ดอกไม้ในเวอร์มุธ และใช้มันด้วยวิธีที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นการทำลายมัน”

ตัวช่วยบางอย่างมีประโยชน์ในเรื่องนี้ เช่นการใช้น้ำสกัดจากน้ำมันหอมระเหย อย่างน้ำกุหลาบ (rose water) หรือ น้ำดอกส้ม (orange flower water) หรือการใช้วิธีที่เรียกว่า Cavitation ซึ่งทำได้โดยการใช้กระป๋องวิปครีม กับก๊าซไนโตรเจนเพื่อสกัดกลิ่นของดอกไม้ออกมาในรูปแบบฟองอากศละเอียด สำหรับวิธีการนี้เวลาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะยิ่งหากใช้เวลานานมากในการสกัด ผลที่ได้จะทำให้กลิ่นออกมาน้อยลงแต่รสขมจะถูกขับออกมามากขึ้น

Canon Seattle’s Magic: The Gathering cocktail. Photo: Canon Seattle’s Facebook page

ในขณะที่การใช้ดอกไม้ในค็อกเทลของ Dandelyan ผ่านการตีความที่หลากหลายและใช้เทคนิคการทำอาหารบวกกับหลักการทางวิทยาศาสตร์มาทำให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างโดดเด่น ในอีกหลายๆ บาร์ชั้นนำก็ได้มีการเล่นกับดอกไม้ชนิดต่างๆ ในวิธีการที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น Canon บาร์ใน Seattle ก็เป็นหนึ่งในบาร์มากมายที่ดึงเอาดอกไม้สีฟ้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างดอกอัญชัญมาเล่นกับคุณสมบัติการเปลี่ยนสีของมันเมื่อโดนกรด Magic: The Gathering คือค็อกเทลที่ทางร้านได้นำเหล้าจิน และลิเคียวร์จากอิตาลีมาอินฟิวส์กับดอกอัญชัญ โดยใช้ไนโตรเจนเหลวในการแยกส่วนผสมที่เป็นเหล้าออกจากส่วนผสมที่เป็นซิตรัส เมื่อเสิร์ฟชั้นกลางที่เป็นไนโตรเจนจะค่อยๆ ระเหยออกไปทำให้ของเหลวสองส่วนเคลื่อนตัวลงมาผสมกัน และค่อยๆ เปลี่ยนสีเป็นม่วงใสสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่เหล่านักดื่ม

อีกหนึ่งตัวอย่างที่คล้ายกันคือ การใช้ดอกของผักคราดหัวแหวน (Szechuan button flower หรือ acmella oleracea) มาตกแต่งค็อกเทลเพื่อสร้างความแปลกใหม่ อย่างที่ Gibson บาร์ในลอนดอน ใช้ตกแต่งค็อกเทลที่มีชื่อว่า Electric Earl ค็อกเทลแก้วนี้ใช้เหล้าจิน Tanqueray No10 เป็นเบส ผสมกับ Gibson’s Lady Grey ลิเคียวร์ เกรฟฟรุ้ตคั้นสด น้ำมะนาว บิตเตอร์ น้ำโทนิค และ ซิตรัสคอร์เดียล ก่อนเสิร์ฟในแก้วใสทรงหลอดไฟ และตกแต่งด้วยดอกไม้ชนิดนี้ ซึ่งลำพังภาพรวมของเครื่องดื่มก็ดูน่าตื่นใจพอแล้ว เมื่อกัดชิมรสของดอกไม้ชนิดนี้เข้าไป นักดื่มจะยิ่งได้รับความรู้สึกที่แปลกเพิ่มขึ้นอีกเพราะเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ให้ความรู้สึกซ่า ชา บริเวณลิ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  อีกหนึ่งตัวอย่างที่คล้ายกันคือ การใช้ดอกของผักคราดหัวแหวน (Szechuan button flower หรือ acmella oleracea) มาตกแต่งค็อกเทลเพื่อสร้างความแปลกใหม่ อย่างที่ Gibson บาร์ในลอนดอน ใช้ตกแต่งค็อกเทลที่มีชื่อว่า Electric Earl ค็อกเทลแก้วนี้ใช้เหล้าจิน Tanqueray No10 เป็นเบส ผสมกับ Gibson’s Lady Grey ลิเคียวร์ เกรฟฟรุ้ตคั้นสด น้ำมะนาว บิตเตอร์ น้ำโทนิค และ ซิตรัสคอร์เดียล ก่อนเสิร์ฟในแก้วใสทรงหลอดไฟ และตกแต่งด้วยดอกไม้ชนิดนี้ ซึ่งลำพังภาพรวมของเครื่องดื่มก็ดูน่าตื่นใจพอแล้ว เมื่อกัดชิมรสของดอกไม้ชนิดนี้เข้าไป นักดื่มจะยิ่งได้รับความรู้สึกที่แปลกเพิ่มขึ้นอีกเพราะเจ้าดอกไม้ชนิดนี้ให้ความรู้สึกซ่า ชา บริเวณลิ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ความแปลกใหม่อาจจะทำให้นักดื่มตื่นตาตื่นใจได้อยู่ได้เพียงชั่วขณะ แต่เราเชื่อว่าการใช้ดอกไม้ในค็อกเทลจะไม่หายไปจากบาร์ได้ง่ายๆ ไม่ว่าบาร์เทนเดอร์จะหยิบขึ้นมาใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม หรือใช้เป็นส่วนผสม ยิ่งทุกวันนี้เราก็มักจะได้เห็นบริษัทเหล้าที่มีชื่อเสียงใหญ่ๆ ล้วนหยิบดอกไม้ขึ้นมาเป็นส่วนประกอบในการทำเหล้าขวดใหม่ ด้วยวิธีการประกอบอาหารสมัยใหม่หรือเทคนิคการสกัดแบบดั้งเดิม ด้วยกันทั้งนั้น

เราสามารถมองเห็นความนิยมของการผลิตเหล้าโดยใช้ดอกไม้เป็นส่วนประกอบนี้ได้จากตัวอย่างต่างๆ เช่น เหล้าขวดใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ อย่าง Italicus Rosolio di Bergamotto (และเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Best New Spirit or Cocktail Ingredient จาก Spirited Awards ประจำปีนี้อีกด้วย) ที่มีส่วนผสมของดอกไม้อย่าง ดอกกุหลาบ คาโมไมล์ และ ลาเวนเดอร์ (นอกจากนั้นเป็นสมุนไพรอีกหลายชนิด) รวมถึงเหล้าขวดที่ประสบความสำเร็จไปก่อนหน้านี้อย่าง แซ็ง-แฌร์แม็ง (St-Germain) และเมื่อมองดูว่าเหล้าที่โดดเด่นเรื่องอโรมาจากสมุนไพรและดอกไม้มาอย่างยาวนานอย่างจิน ผมเชื่อว่าการใช้ดอกไม้ในโลกของการปรุง ค็อกเทลสมัยใหม่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น และ เราจะได้เห็นความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ค็อกเทลใหม่ๆ จากหลังบาร์ทั่วโลกอย่างแน่นอน

Recipes (คลิกเพื่ออ่าน)
New Lace
Campo de’ Fiori
Hammer & Tonic by Jillian Vose
Vitruvian Rose Spritz